​โอกาสไทยในวิกฤตอาหารโลก

img

คงพอได้ยินข่าวกันมาบ้าง ขณะนี้มีถึง 14 ประเทศ ที่ “ห้ามส่งออกอาหาร” จำกัดระยะเวลาสิ้นสุด สั้นบ้าง ยาวบ้าง

เป้าหมายก็เพื่อ “ความมั่นคงทางอาหารในประเทศ” หลังจากเกิดวิกฤต “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” ทำเอาซัปพลายโลกปั่นป่วน
         
ไปดูกันคร่าว ๆ ประเทศไหน ห้ามส่งออกอะไรบ้าง

อาร์เจนตินา” ระงับการส่งออก “น้ำมันถั่วเหลือง อาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง” ถึง 31 ธ.ค.2566
         
แอลจีเรีย” ระงับการส่งออก “พาสตา ข้าวสาลี น้ำมันพืช น้ำตาล” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
อียิปต์” ระงับการส่งออก “น้ำมันพืช ข้าวโพด” ถึง 12 มิ.ย.2565
         
อินเดีย” ระงับการส่งออก “ข้าวสาลี” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
อินโดนีเซีย” ระงับการส่งออก “น้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดปาล์ม” ถึง 31 ธ.ค.2565 แต่ล่าสุด “อนุญาตให้ส่งออก” ได้แล้ว
         
อิหร่าน” ระงับการส่งออก “มันฝรั่ง มะเขือม่วง มะเขือเทศ หัวหอม” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
คาซักสถาน” ระงับการส่งออก “ข้าวสาลี แป้งสาลี” ถึง 15 มิ.ย.2565
         
โคโซโว” ระงับการส่งออก “ข้าวสาลี ข้าวโพด แป้ง น้ำมันพืช เกลือ น้ำตาล” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
ตุรกี” ระงับการส่งออก “เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนย น้ำมันปรุงอาหาร” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
ยูเครน” ระงับการส่งออก “ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวฟ่าง น้ำตาล” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
รัสเซีย” ระงับการส่งออก “น้ำตาล เมล็ดทานตะวัน” ถึง 31 ส.ค.2565 และ “ข้าวสาลี แป้งสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด” ถึง 30 มิ.ย.2565
         
เซอร์เบีย” ระงับการส่งออก “ข้าวสาลี ข้าวโพด แป้ง น้ำมัน” ถึง 31 ธ.ค.2565
         
ตูนิเซีย” ระงับการส่งออก “ผลไม้ ผัก” ถึง 31 ธ.ค.2565
         


คูเวต” ระงับการส่งออก “ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ ธัญพืช น้ำมันพืช
         
และล่าสุดตัวเลขขยับขึ้นไปเป็น “30 ประเทศ” ที่ห้ามส่งออกอาหาร ในจำนวนนี้ เป็นประเทศ “ผู้ผลิตอาหาร” รายสำคัญของโลกหลายประเทศรวมอยู่ด้วย เช่น “มาเลเซีย” ห้ามส่งออก “ไก่” เป็นต้น
         
จน “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)” ออกมาเตือนว่า มี “ความเสี่ยง” ที่จะเกิด “วิกฤตอาหาร” ไปทั่วโลก โดยเฉพาะกับ “ประเทศที่ยากจน

ทั้งนี้ จากที่ติดตามสถานการณ์ พบว่าสินค้า “อาหาร” ที่ห้ามส่งออก ส่วนใหญ่ไทย “ผลิตได้” ในประเทศ แต่ก็มีหลายรายการที่ต้อง “นำเข้า
         
จาก “ปัญหาที่เกิดขึ้น” ทำให้หลายฝ่าย เริ่มมองถึง “ความเสี่ยง” ที่อาจจะเกิดขึ้น “กับไทย
         
ในประเด็นนี้ “นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์” ไม่ได้ “นิ่งนอนใจ” ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “ติดตาม” และ “ประเมิน” สถานการณ์อย่างใกล้ชิด
         
มีแนวทาง คือ ดูทุกสินค้า ติดตามทุกสินค้า โดยใช้ “หลักการ” สร้าง “สมดุล” ทุกฝ่าย
         
ในประเทศต้องมี “เพียงพอ” ต่อการบริโภค และไม่กระทบต่อ “การส่งออก” ที่จะสร้างรายได้เข้าประเทศ และต่อเนื่องถึง “รายได้” ของเกษตรกรผู้เพาะปลูกสินค้าเกษตรและอาหาร
         
นายจุรินทร์ บอกว่า ปัจจุบันในภาพรวมยังไม่มีสินค้าตัวใดน่า “เป็นห่วง” หรือ “เป็นปัญหา” แต่ก็จะมีการ “ติดตาม” ต่อไป
         
ทางด้าน “นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน” ย้ำว่า ได้ติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภค อาหาร สินค้าเกษตร และสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งภายในประเทศและทั่วโลกอย่างใกล้ชิด
         
ที่เน้นดูเป็นพิเศษ ก็ “ข้าวสาร น้ำมันปาล์ม เนื้อไก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ มันสำปะหลัง อาหารแปรรูป” รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ที่ไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้า เช่น “อาหารสัตว์ ปุ๋ยเคมี
         
พวกนี้ “ติดตามแบบรายวัน” และยังได้มีการหารือกับ “ผู้ผลิต” เพื่อบริหารจัดการอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ “สต๊อกพร่อง” และเกิดปัญหา “ขาดแคลน” ทั้งการบริโภคในประเทศและส่งออก
         


ดังนั้น จากการติดตามข้อมูลถึงตอนนี้ เห็นได้ว่า “วิกฤตอาหารโลก” ที่กำลังเกิดขึ้น น่าจะส่งผลกระทบต่อไทย “น้อยมาก
         
เพราะไทยเป็นหนึ่งใน “แหล่งผลิตอาหาร” ที่สำคัญของโลก โดย “กระทรวงพาณิชย์” ได้กำหนดนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เรื่อยมาจน “อาหารไทยอาหารโลก

ปัจจุบัน สามารถส่งออกอาหารได้เป็นอันดับต้น ๆ ของโลกหลายชนิด
         
อย่าง “ข้าว” เป็นผู้ส่งออกติด 1 ใน 3 ของโลก “เนื้อไก่” อันดับ 4 ของโลก “มันสำปะหลัง” อันดับ 1 ของโลก รวมถึง “น้ำมันปาล์ม” ที่เป็นผู้ส่งออกรายสำคัญ ขณะที่ “อาหาร” อยู่ลำดับที่ 13 ในปี 2564 ที่ผ่านมา
         
สถิติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ไทยสามารถผลิตอาหารได้ “เพียงพอ” สำหรับการบริโภคในประเทศ และ “เหลือ” เพื่อการส่งออก
         
มีตัวเลขการส่งออกในช่วง 4 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-เม.ย.) ยืนยัน เช่น มันสำปะหลัง เพิ่ม 49.5% ข้าว เพิ่ม 44% เงาะ เพิ่ม 240% มังคุด เพิ่ม 95.8% มะม่วง เพิ่ม 14% น้ำตาลทราย เพิ่ม 87.9% อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เพิ่ม 8.9% เป็นต้น
         
นั่นหมายความว่า ผลพวกจาก “วิกฤตการขาดแคลนอาหาร” ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลดีต่อ “การส่งออก” สินค้ากลุ่มเกษตรและอาหารของไทย
         
เพราะขณะนี้ยังมี “คำสั่งซื้อ” เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เรียกว่า “ทะลักทะล้น
         
พูดได้ว่า ปีนี้ จะเป็น “ปีทอง” การส่งออก “สินค้าเกษตร” และ “อาหาร” ของไทยเลยก็ว่าได้
         
เกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ มีโอกาสลืมตาอ้าปาก ผู้ผลิต ผู้ส่งออก จะมีรายได้เพิ่มขึ้น แรงงาน คนทำงาน จะมีงานทำ มีรายได้
         
ขออย่างเดียว “อย่าขาย” จนเพลิน “อย่าส่งออก” จนเพลิน จน “ลืม” ในประเทศ เพราะหากเกิดปัญหา “ขาดแคลน” ขึ้นมา แล้วจะยุ่ง
         
ต้อง “บริหารจัดการ” ให้เหมาะสม ทุกฝ่ายต้อง “วิน-วิน

อย่าให้ “เสียชื่อ” แหล่งผลิตอาหารของโลก   
 
ซีเอ็นเอ

ติดตามข่าวสารแบบฉับไว
ส่งตรงถึงมือถือ คลิกเลย
ติดตามข่าวสารผ่าน Twitter
กดคลิก Follow ด้านล่าง

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด